Aspire (Thailand) Co., Ltd. (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า AT”) ได้คำนึงถึงความสำคัญของการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานทุกท่าน ทาง AT มุ่งมั่นอย่างยิ่งเพื่อให้แน่ใจ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าถึงการใช้งานเว็บไซต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆของเรา ทั้งลูกค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ บริษัทหุ้นส่วน พนักงานบริษัท รวมถึงกระบวนการสรรหาบุคคล ที่มีความเกี่ยวข้องกับ AT ผู้ใช้งานทุกท่านจะได้รับการคุ้มครองสิทธิการเข้าถึง และการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ทำให้ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะรักษาความลับของท่าน และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ปลอดภัยต่อการเก็บข้อมูลต่างๆ โดยการปฏิบัติดังกล่าวจะเป็นไปตามข้อตกลงในทางธุรกิจ นโยบายและความเป็นส่วนตัวนี้ เป็นไปตามกระบวนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย พ.ศ. 2562 (2019)
เงื่อนไขและสำนวนต่างๆ นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ข้างต้น มีความหมายดังนี้
- ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวท่าน แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกระบุทางตรงหรือทางอ้อมที่แสดงถึงตัวท่านเองก็ตาม และหมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องบุคคลทั้งทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว
- ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความลับ หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถึงป้องกันด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะข้อมูลที่อาจจะส่งผลร้ายแรงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้องนั้น เมื่อมีการเก็บข้อมูล, การใช้งานของข้อมูลและการเปิดเผยโดยไม่ได้รับการยินยอมของบุคคลนั้น
- เจ้าของข้อมูล หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ระบุ หรือระบุตัวตนได้
- ผู้ควบคุมข้อมูล หมายถึง บุคคลที่มีอำนาจและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานของข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ดำเนินงาน เก็บ ใช้งานหรือเปิดเผยของข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล
- เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล หมายถึง บุคคลที่ถูกแต่งตั้ง โดย ประธาน AT หรือ ประธานและใครที่สามารถรายงานตรงถึงคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่มีการละเมิด
- คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ หน่วยงานธุรการที่รับผิดชอบต่องานและมีอำนาจในการจัดการ ออก หรือจัดให้มีแนวทางอื่นๆสำหรับมาตรการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
- พื้นฐานทางกฎหมาย หมายถึงข้อยกเว้นที่ได้รับจากกฎหมายโดยที่ผู้ควบคุมข้อมูลมีสิทธิ์ตามกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุโดย AT ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ของข้อตกลงนี้
หัวข้อ
- จุดประสงค์ของนโยบายนี้คืออะไร
- แหล่งที่มาของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดย AT
- AT จะมีการจัดเก็บ ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทใด
- จุดประสงค์ในการเก็บข้อมูลและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลและการเผยแพร่และกฎหมายที่มีความน่าเชื่อถือคืออะไร
- AT จะสามารถเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือครองข้อมูลให้กับใครได้บ้าง
- AT จะทำการส่งหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศหรือไม่
- AT จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้นานแค่ไหน
- AT จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร
- ความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร?
- AT เก็บรวมคุกกี้หรือไม่
- จะสามารถติดต่อสอบถามAT ผู้ที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลได้อย่างไร
- จุดประสงค์ของนโยบายนี้คืออะไร
นโยบายนี้ แจ้งถึงเจ้าของข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของจุดประสงค์สำหรับการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล การใช้งาน หรือ การเปิดเผย อีกทั้งยังแสดงถึงพื้นฐานทางกฎหมายต่อข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย
- แหล่งที่มาของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดย AT
2.1 ข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลได้ทำการส่งมอบให้กับ AT ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการส่งให้ผู้รับผิดชอบ ในกรณีที่มีการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลโดยมีการติดต่อมาจาก ข้อมูลติดต่อของผู้ถือครองข้อมูล การเยี่ยมเยือน รวมถึงการเข้าถึงเว็บไซต์
2.2 ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับมาจากผู้ถือครองข้อมูลโดยทางอ้อมหรือมีการเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขององค์กร เช่น ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเปิดเผย หน่วยงานภาครัฐ ในกรณีที่ AT มีความจำเป็น และคู่ค้ามีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นโดยจำเป็นต้องมี AT เท่านั้น หรือในกรณีที่จำเป็นต้องมีการยอมรับอย่างชัดเจนจากผู้ถือครองข้อมูลและมีการยอมรับหรือละเว้นทางด้านกฎหมายที่มีความน่าเชื่อถือ
- AT จะมีการจัดเก็บ ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทใด
3.1 ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อนามสกุล, อายุ, วันเดือนปีเกิด, รหัสประเทศ, พาสปอร์ต, ภาพบันทึกการประชุมออนไลน์,รหัสประจำตัวประชาชน, ใบอนุญาตขับขี่
3.2 ข้อมูลติดต่อ
ที่อยู่อาศัย, ที่อยู่สถานที่ทำงาน, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, ไลน์ไอดี,ชื่อเฟสบุค
3.3 ข้อมูลการเงิน
หมายเลขบัญชีธนาคาร, ชื่อบัญชีธนาคาร
3.4 ข้อมูลอื่นๆที่จำเป็นต่อกิจการของ AT
ประวัติการเข้าถึงเว็บไซต์, ไฟล์เสียง, ไฟล์ภาพ, ไฟล์วิดีโอ, ข้อมูลการเงิน หรือข้อมูลที่จำแนกได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการส่งมอบให้กับ AT เพื่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอ้างอิงตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
3.5 ข้อมูลลับ
ข้อมูลลับในกรณีที่เกิดปัญหาของประเทศ, ศาสนา, หรือข้อมูลลับที่อยู่ในฐานข้อมูลของ AT ที่มีการใช้งานเพื่อยกระดับการทำงานและสินค้าบริการของ AT
4. จุดประสงค์ในการเก็บข้อมูลและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลและการเผยแพร่ และกฎหมายที่มีความน่าเชื่อถือคืออะไร
AT จะทำการเก็บข้อมูลจากผู้ถือครองข้อมูล, ใช้ข้อมูลหรือเผยแพร่ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นโดยอิงตามกฎหมายที่มีความน่าเชื่อถือที่เป็นนโยบายดังนี้
4.1 กรณีที่มีความจำเป็นต้องทำตามการร้องขอจากผู้ถือครองข้อมูลก่อนทำสัญญา หรือมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามโดยถือเป็นหน้าที่ตามสัญญา
4.1.1 เพื่อทำสัญญาซื้อ, สัญญาสมาชิก, สัญญาเช่า, ผู้ทำสัญญา, สิ่งที่จำเป็นในการทำสัญญาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานเช่น การตรวจสอบเอกสาร, การตรวจสภาพนิติบุคคล, การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล, การพิสูจน์, และการตรวจสอบตัวบุคคล
4.1.2 เพื่อทำสัญญากับผู้ถือครองข้อมูล หรือปฏิบัติตามหน้าที่ในทางกฎหมาย
4.1.3 เพื่อทำการเก็บ, ใช้งานและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือคู่ค้าทางธุรกิจ,
4.1.4 เพื่อการให้บริการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
4.1.5 เพื่อเรียกเก็บเงินค่าสินค้าและบริการโดยอิงตามเงื่อนไขการชำระเงินที่เห็นพ้องตรงกันระหว่าง AT และผู้ถือครองข้อมูล
4.1.6 เพื่อแจ้งข้อมูลที่อยู่การจัดส่งรางวัลใดๆก็ตามจากการเข้าร่วมกิจกรรมของ AT
4.2 ในกรณีที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ AT หรือกฏหมายอื่นๆที่ครอบคลุมอย่างเคร่งครัด (รวมถึงกฎข้อบังคับที่บัญญัติตามกฎหมายที่เข้าข่าย)
4.2.1 การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคลในกรณีที่มีคำร้องขอมาจากหน่วยงานรัฐ
4.2.2 การป้องกัน ตอบโต้ บั่นทอนความเสี่ยงที่ซ่อนเร้น เช่น การจู่โจมทางไซเบอร์, การระงับการจ่ายเงินกู้, การผิดพันธสัญญา, การทำผิดกฎหมายบัญญัติ (ที่ขัดต่อความลับการขายทรัพย์สินทางปัญญา, ทรัพย์สิน, ชีวิต, ความอิสระ, ชื่อเสียง )
4.2.3 การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหลังหมดสัญญาในฐานะหลักฐานของหลักจรรยาบรรณ, ข้อโต้แย้ง, การเรียกร้องทางกฎหมายหรือการตรวจสอบภาษีที่มีผลย้อนหลัง
4.3 เมื่อ AT และบุคคลอื่นๆหรือนิติบุคคลมีความจำเป็นที่จะต้องกระทำบางสิ่งเพื่อให้ได้ผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นไม่ขัดแย้งกับความต้องการอันสมเหตุสมผลของผู้ถือครองข้อมูลดังต่อไปนี้
4.3.1 การซัพพอร์ทลูกค้าของพนักงาน AT, การแจ้งหรือการเสนอสินค้าและบริการชนิดเดียวกันเพื่อใช้สำหรับสวัสดิการในการรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า
4.3.2 เพื่อมอบความสะดวกสบายในการใช้ที่จอดรถกรณีที่มาเยือนที่สำนักงาน AT
4.3.3 การจัดการความเสี่ยง, การเฝ้าระวัง, การจัดการภายในองค์กร เช่นการบันทึกภาพด้วยกล้องวงจรปิด CCTV
4.4 ในกรณีที่ได้รับความยินยอมในการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเปิดเผยจากผู้ถือครองข้อมูล
5. AT จะสามารถเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือครองข้อมูลให้กับใครได้บ้าง
5.1 การเสนอสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ถือครองข้อมูล, เอ้าท์ซอร์สที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาและนำเสนอ
5.2 การติดต่อไปยังบริษัทจัดการสิ่งก่อสร้างเพื่อวางแผนให้ความสะดวกสบายแก่ผู้มาเยือน
5.3 การเรียกเก็บภาษีจากหน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, การดำเนินคดีเกี่ยวกับการผิดพันธะสัญญา, ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสินค้า
5.4 เพื่อจุดประสงค์ที่กำหนดโดยหนังสือยินยอมและหนังสือสัญญาที่ส่งไปสู่บริษัทที่เกี่ยวข้อง
6. AT จะทำการส่งหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศหรือไม่?
AT จะไม่ทำการส่งหรือถ่ายโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ
7. AT จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้นานแค่ไหน?
AT จะเก็บรักษาข้อมูลของผู้ถือครองข้อมูลก็ต่อเมื่อผู้ถือครองข้อมูลมีความสำพันธ์ทางธุรกิจ (เช่นลูกค้าหรือพนักงานจ้าง) หรือจุดประสงค์ในช่วงเวลาที่แนวโน้มของบริษัทได้กำหนดเอาไว้ แต่ทว่าหากมีการร้องขอให้เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเป็นระยะเวลานานตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตให้เก็บรักษา เช่นเก็บรักษาข้อมูลตามประมวลรัษฎากร , เก็บรักษาเพื่อพิสูจน์หรือตัดสินในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในระหว่างที่กฎหมายยังมีอายุความอยู่ไม่เกิน 10 ปี
ในกรณีที่ AT ไม่จำเป็นต้องใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล จะขอรับรองการลบ การทำลาย และปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล
8. AT จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร
เกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล AT ได้มีการใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อที่จะป้องกันการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด จะมีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลที่รวมถึงปฎิบัติการทาง IT Technology AT มิได้มีจุดประสงค์ในการใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลโดยผู้เผยแพร่ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และตั้งกฎระเบียบภายในบริษัทเพื่อไม่ให้ผิดต่อกฎหมาย AT มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบบ่อยครั้งตามความจำเป็นและความเหมาะสมตามกฎระเบียบของรัฐบาลและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานของ AT และฝั่งผู้ว่าจ้างจากภายนอกหรือผู้รับข้อมูลนั้น ต้องแบกรับหน้าที่ที่จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับตามมาตรการการเก็บรักษาความลับที่ทาง AT ได้กำหนดเอาไว้
9. ความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล
AT จะขอรับรองความถูกต้องสมบูรณ์และล่าสุดของข้อมูลส่วนบุคคล หากผู้ถือครองข้อมูลมีความประสงค์ที่จะปรับแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ถือครองข้อมูลจะมีสิทธิในการปรับแก้ไขข้อมูลตามที่ได้บัญญัติไว้ในข้อ 10.7 การแก้ไขนั้น จะมีผลหลังจากตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามวิธีการดำเนินการที่กำหนด
10. สิทธิของผู้ถือครองข้อมูลที่มีต่อข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร?
สิทธิของผู้ถือครองข้อมูลที่ได้ระบุไว้ข้างล่างนี้ เป็นอำนาจทางกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้ตามเงื่อนไขทางกฎหมายและนโยบายที่ผู้ถือครองข้อมูลได้แก้ไขทั้งปัจจุบันและในอนาคตตามขอบเขตที่ ATกำหนด ในกรณีที่เป็นผู้ที่มีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์/ผู้ไร้ความสามารถ/ผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือความสามารถในการทำสัญญาทางกฎหมายของผู้ถือครองข้อมูลถูกจำกัด สามารถร้องขอให้บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนเป็นผู้ถือสิทธิแทนผู้ถือครองข้อมูลได้
10.1 เพิกถอนคำยินยอม: เมื่อผู้ถือครองข้อมูลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ใช้งาน หรือเผยแพร่โดยที่ได้รับคำยินยอมจาก AT (ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นก่อนหรือหลังบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ยกเว้นในกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลถูกจำกัดสิทธิโดยกฎหมาย หรือในกรณที่ผู้ถือครองข้อมูลอยู่ในฐานะคู่ค้ากับ AT จะมีสิทธิในการเพิกถอนคำยินยอมที่เข้าข่ายเมื่อใดก็ได้ (เช่นสนธิสัญญาเป็นต้น) การเพิกถอนคำยินยอมของผู้ถือครองข้อมูลนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อประโยชน์และความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของผู้ถือครองข้อมูล เช่น ในกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลมีการส่งเสริมการขายที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ หรือในกรณีที่ไม่สามารถรับข้อเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ได้
10.2 การเข้าถึงข้อมูล: ผู้ถือครองข้อมูลมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ความรับผิดชอบของ AT ผู้ถือครองข้อมูลสามารถร้องขอสำเนาข้อมูลที่เข้าข่ายได้ แม้ในกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลทำการส่งข้อมูลให้ AT ผ่านบุคคลที่สาม ผู้ถือครองข้อมูลจะมีสิทธิในการร้องขอการเผยแพร่แหล่งที่มาของข้อมูลแก่ AT
10.3 Data Portability: ยกเว้นกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลไม่มีความสามารถในการปฏิบัติการ (i) AT อาจมีความเป็นไปได้ที่จะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการสแกน หรือทำการจัดการรูปแบบการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้าข่าย ในกรณีที่สามารถทำการจัดการหรือเผยแพร่อัตโนมัติได้ AT จะทำการส่งหรือโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้าข่ายไปยังผู้ถือครองข้อมูลอื่นๆโดยตรง (ii) AT จะส่งหรือโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้ถือครองข้อมูลโดยตรง
10.4 การคัดค้าน: ผู้ถือครองข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใดก็มีสิทธิในการยื่นคำคัดค้านการเก็บ ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือครองข้อมูล แต่ทว่า นั่นยกเว้นการกระทำที่ได้รับความเห็นชอบที่เข้าข่าย ผลประโยชน์อันชอบทำของส่วนบุคคลและตัวบริษัท และการตอบรับความคาดหวังอันสมเหตุสมผลของผู้ถือครองข้อมูล หรือการใช้งานเพื่อปฏิบัติงานราชการ ในกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลยื่นคำคัดค้าน AT นั้น (i) ในกรณีที่ความน่าเชื่อถือทางกฎหมายของ AT มีความสำคัญมากกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือครองข้อมูล (ii) ในกรณีที่มีการเรียกร้องสิทธิทางกฎหมาย (iii) ในกรณีที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (iv) เฉพาะในกรณีที่ป้องกันการดำเนินการทางกฎหมาย จะดำเนินการเก็บข้อมูล ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือครองข้อมูล ในขณะเดียวกัน AT จะทำการแยกข้อมูลส่วนบุคคลออกจากข้อมูลทั่วไปอย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ถือครองข้อมูลมีสิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือการเผยแพร่ที่มีจุดประสงค์ทางด้านการตลาด ทางวิทยาศาสตร์ ทางประวัติศาสตร์ หรือทางด้านการวิจัยสถิติ
10.5 การลบหรือเพิกถอนข้อมูล: ในกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลเชื่อว่ามีการเก็บรวบรวม ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด หรือเชื่อว่าไม่มีความจำเป็นในการใช้งานข้อมูลดังกล่าวตามนโยบายบริษัทอีกต่อไป หรือการที่ผู้ถือครองข้อมูลยื่นคำร้องให้มีการเพิกถอนคำยินยอม หรือมีการยื่นคำคัดค้านตามที่กล่าวได้กล่าวไว้ด้านบน เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการยื่นคำร้องการลบ เพิกถอน หรือการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล
10.6 การจำกัดข้อมูล: ผู้ถือครองข้อมูลมีสิทธิในการร้องขอให้ AT มีการจำกัดการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่ยังอยู่ในระยะเวลาการพิจารณาทารตัดสินคำคัดค้าน หรือในกรณีที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป นอกจากนั้น AT จะต้องลบหรือเพิกถอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือครองข้อมูลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้ถือครองข้อมูลสามารถร้องขอให้ AT เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลต่อเพื่อนำไปใช้ในการเรียกร้อง บังคับใช้ หรือป้องกันทางกฎหมายได้
10.7 การแก้ไขข้อมูล: ผู้ถือครองข้อมูลมีสิทธิในการแก้ไข ปรับเปลี่ยน และกรอกข้อมูลส่วนบุคคลใหม่เพื่อมิให้เกิดการเข้าใจผิด การบังคับใช้สิทธิที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีบางกรณีที่จะถูกจำกัดสิทธิโดยอิงตามกฎหมาย ในบางกรณี AT มีความจำเป็นที่จะปฏิเสธคำร้องจากผู้ถือครองข้อมูลเมื่อมีคำสั่งจากชั้นศาล ราชการ หรือมีการขัดต่อสิทธิของผู้อื่น เมื่อ AT ปฏิเสธคำร้อง AT จะทำการแจ้งถึงเหตุผลของการปฏิเสธ AT จะมอบข้อมูลส่วนบุคคลให้ตามที่ผู้ถือครองข้อมูลร้องขอหรือไม่นั้นจะเป็นไปตามขั้นตอนของ AT จะตอบรับคำร้องจากผู้ถือครองหลังจากการยืนยันตัวตนของผู้ถือครองข้อมูลภายใน 30 วัน และรับข้อมูลในรูปแบบของเอกสาร
ยิ่งไปกว่านั้นในกรณีที่การเก็บรวบรวม การใช้งาน การเผยแพร่ หรือเกิดการขัดต่อคำร้องข้อมูลส่วนบุคคลและเชื่อว่ามิได้มีการทำตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ถือครองข้อมูลมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการผู้ดูแลข้อมูลส่วนบุคคล
เกี่ยวกับจุดนี้ ผู้ถือครองข้อมูลสามารถยื่นคำร้องขอใช้สิทธิต่างๆผ่านทางข้อมูลติดต่อสอบถามที่ได้กล่าวไว้ในข้อที่ 12
11. AT เก็บข้อมูลไฟล์ข้อมูลของคุกกี้ไว้หรือไม่
ไม่มีการเก็บข้อมูลคุกกี้ใดๆทั้งสิ้น
12. จะสามารถติดต่อสอบถาม AT ผู้ที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลได้อย่างไร
ผู้ถือครองข้อมูลสามารถติดต่อ AT หรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลได้ในกรณีที่ผู้ถือครองข้อมูลต้องการสอบถามหรือยื่นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้งาน หรือการเผยแพร่ข้อมูล และการร้องขอสิทธิในการบังคับใช้ตามนโยบายของบริษัทได้ผ่านช่องทางด้านล่าง
12.1 กรุณาติดต่อสอบถามผ่านช่องทางด้านล่างในกรณีที่มีความประสงค์ในการใช้สิทธิบังคับใช้ตามนโยบายและความเป็นส่วนตัวนี้
12.1.1 info@aspire-th.asia
12.1.2 ติดต่อไปยังบริษัท AT โดยเบอร์โทรศัพท์
12.2 กรุณาติดต่อสอบถามและยื่นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและความเป็นส่วนตัวนี้ไปที่ผู้รับผิดชอบดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ เบอร์โทร 02-258-5970 หรือ อีเมล: info@aspire-th.asia